แพทย์ ศัลยกรรมผิดพลาด ไม่รับผิดชอบ ไม่แก้ไข ดำเนินคดีได้หรือไม่
08
เมษายน
โดย: Tanaysocial 0 ความเห็น

แพทย์ ศัลยกรรมผิดพลาด ไม่รับผิดชอบ ไม่แก้ไข ดำเนินคดีได้หรือไม่

หากมีเรื่องทุกข์ร้อนใจ ทุกปัญหามีทางออก

ปรึกษากฎหมายฟรี

โทร 02-194-4707 , 095-169-9998

ทนายธีรเมศร์/ทนายเบล    

หรือสามารถส่งข้อความที่ต้องการสอบถาม มายังไลน์ (Line) เพียงกดเพิ่มเพื่อน ด้านล่างนี้ได้เลย

เพิ่มเพื่อน

 

หมอทำศัลยกรรมผิดพลาด ต้องรับผิดหรือไม่ หมอที่โฆษณาว่าตนเองเป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านศัลยกรรมตกแต่ง แต่ความจริงไม่ได้จบศัลยกรรมตกแต่ง มีความผิดหรือไม่

 

เรื่องจากเกิดจากลูกความได้เข้ามาปรึกษา เรื่องพิพาท เกี่ยวกับ ศัลยกรรมตกแต่ง ที่เกิดผิดพลาด

ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น สืบเนื่องจากลูกความค้นหาข้อมูลจากอินเตอร์ และเห็น "คลินิกย่านเมืองทองธานี" โฆษณาว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านความงาม เป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง”  ลูกความจึงตัดสินใจทำศัลยกรรม ผ่าตัดหน้าออก ลดขนาดหน้าอก ที่คลินิกแห่งนี้ ตกลงผ่าตัดลดขนาดหน้าออก พร้อมยกกระชับ รวมประมาณ 140,000 บาท 

 ภายหลังจากผ่าตัด พบว่าสภาพเต้านม ทั้งสองข้างไม่เท่ากัน และผิดรูปโดยขนาด #เต้านมด้านขวามีขนาดใหญ่กว่าด้านซ้าย #ส่วนด้านซ้ายมีสภาพเอียง ออกมาทางด้านซ้ายมือ ลูกความจึงเข้าพบหมอผู้ทำการผ่าตัด เพื่อทำการตรวจอีกครั้ง แต่หมอให้ลูกความไปทำการนวดเต้านม อ้างว่าเพื่อให้ซิลิโคนกระชับและเข้าที่ เมื่อลูกความทำตามคำแนะนำ แต่เต้านมยังคงมีสภาพผิดปกติอยู่

ต่อมาลูกความมีอาการเจ็บเต้านมด้านขวาอย่างรุนแรง ลูกความจึงไปตรวจด้วยวิธีการเอ็กซเรย์ที่โรงพยาบาลฯ พบว่าเต้านมด้านขวามีน้ำอยู่ด้านใน  ต้องรีบทำการผ่าตัดแก้ไขลูกความจึงไปผ่าตัดแก้ไขที่บริเวณที่คลินิกศัลยกรรมแห่งใหม่ โดยแพทย์วินิจฉัยว่าเต้านมมีพังผืด ส่วนเต้านมด้านขวามีการสร้างน้ำซึ่งเกิดจากเลือดคลั่ง โจทก์เสียค่ารักษา  120,000 บาท

 ลูกความจึงมอบหมายให้ผู้เขียนยื่นฟ้องดำเนินคดี และเรียกค่าเสียหายกับหมอผู้ทำการผ่าตัด

 

https://www.tanaysocial.com/article/NjFMQHd5ZVItUyF0ZTIwMjA=

 

 

ศาลชั้นต้น ได้พิพากษาให้จำเลยชำระเงิน 194,599 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันทำละเมิดเป็นต้นไป วันที่ 27 มิถุนายน 2560 จนกว่า จะชำระเสร็จแก่โจทก์ กับให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยกำหนด ค่าทนายความ 8,000 บาท ส่วนค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดี เห็นควรไม่กำหนดให้ คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก

 

โจทก์ยื่นอุทธรณ์

 

ศาลอุทธรณ์ พิพากษาแก้เป็นว่าให้จำเลยชำระเงิน 354,599 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันที่ 27 พฤษภาคม 2560 ถึงวันที่ 10 เมษายน 2564 และอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 5 ต่อปี นับแต่วันที่ 11 เมษายน 2560 เป็นต้นไป จนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์โดยอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวให้ปรับเปลี่ยนลดลงหรือเพิ่มขึ้นตามช่วงเวลาที่มีพระราชกฤษฎีกาประกาศให้มีผลบังคับ แต่ดอกเบี้ยทุกช่วงเวลาให้ไม่เกินอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตามที่โจทก์ขอและให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้นที่โจทก์ได้รับยกเว้น โดยนำมาชำระต่อศาลในนามของโจทก์ นอกจากที่แก้ไขให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น  คืนค่าส่งคำบังคับ 350 บาทและค่ารับรองสำเนาเอกสาร  400 บาท ให้แก่โจทก์ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์นอกจากนี้ให้ตกเป็นพับ

 

โจทก์ฎีกา และขออนุญาตฎีกา ในประเด็นของให้ศาลฎีกาพิพากษาลงโทษจำเลย  ตามพรบ.วิธีพิจารณาความคดีผู้บริโภค มาตรา 42 และศาลได้อนุญาตให้ฎีกา

 

 #ศาลฎีกา พิพากษาให้หมอเจ้าของ #คลินิก จ่ายค่าเสียหายเพื่อเป็นการลงโทษ  ตามพรบ.วิธีพิจารณาความคดีผู้บริโภค มาตรา 42 เป็นเงิน 300,000 บาท  เหตุเพราะไปโฆษณาว่าตัวเอง #เป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ด้าน"ศัลยกรรมตกแต่ง"

แต่ความจริงไม่ใช่  เป็นเหตุให้ประชาชน ผู้บริโภค รวมถึงโจทก์หลงเชื่อ ไปทำศัลยกรรม หน้าอกทำให้ #หน้าอกด้านซ้ายมีพังผืดรัดรมแน่นลักษณะคล้ายกับลูปโป่งที่ถูกรัด  #ส่วนหน้าออกด้านขวามีน้ำเหลืองตกค้าง 200 มิลลิลิตร  

รวมเงินที่ศาลพิพากษาให้หมอจ่ายให้กับลูกความผู้เขียน เป็นเงินทั้งสิ้น 654,599 บาท

 

https://www.tanaysocial.com/article/NjRMQHd5ZVItUyF0ZTIwMjA=

 

 

คำวินิจฉัยเต็มของศาลฎีกา

"คำพิพากษาศาลฎีกาเลขที่ 4140/2566"

ศาลฎีกาวินิจว่า….

จำเลยไม่ได้เป็นแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านศัลยกรรมตกแต่ง และไม่ได้เป็นแพทย์เฉพาะทางแต่กับโฆษณาทางเว็บไซต์ของจำเลยว่า จำเลยเป็นแพทย์เฉพาะทางย่อมทำให้ประชาชนโดยทั่วไปรวมทั้งโจทก์ที่พบเห็นข้อความโฆษณาดังกล่าวลงเชื่อว่าจำเลยเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านศัลยกรรมตกแต่งเข้าทำศัลยกรรมกับจำเลยทั้งๆที่จำเลยไม่มีความสามารถตามที่ตนโฆษณา จนเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายจากการที่จำเลยผ่าตัดศัลยกรรม เกิดถุงน้ำและพังผืดจน ทำการผ่าตัดแก้ไขใหม่ #อันเป็นความประมาทเลินเล่อของจำเลยอย่างร้ายแรง อีกทั้งจำเลยยังไม่นำพาต่อความเสียหายที่เกิดแก่โจทก์ผู้บริโภคโดย บ่ายเบี่ยงให้พนักงานจำเลยซึ่งมิใช่แพทย์หรือผู้เชี่ยววชาญแนะนำให้คำปรึกษาเมื่อโจทก์นำเรื่องอาการผิดปกติของเต้านมที่มีได้รับการผ่าตัดจากจำเลยมาปรึกษากับแนะนำให้ใช้วิธีการนวดซึ่งเป็นการรักษาโดยวิธีอื่นและไม่ได้ผ่าตัดรักษาแก้ไขให้โจทก์#เพื่อบ่ายเบี่ยงให้มันให้พ้นกำหนดระยะเวลา1ปี อันเป็นระยะเวลาประกันการรักษาทำให้โจทก์ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการ ผ่าตัดรักษาแก้ไขเต้านม ใหม่กับสถานพยาบาลอื่น พฤติการณ์ดังกล่าวของจำเลยเป็นการเอาเปรียบโจทก์ผู้บริโภคประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงไม่นำพาต่อความเสียหายที่จะเกิดแก่โจทก์และเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนความรับผิดในฐานะผู้มีวิชาชีพแพทย์อันเป็นที่ไว้วางใจของประชาชน #ศาลฎีกาเห็นสมควรกำหนดค่าเสียหายเพื่อการลงโทษแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความคดีผู้บริโภคพุทธศักราช 2551 มาตรา 40 เป็นเงิน 300,000 บาทฎีกาของโจทก์ฟังขึ้น

#พิพากษาแก้เป็นว่าให้จำเลยชำระค่าเสียหายเพื่อการลงโทษแก่โจทก์อีก 300,000 บาท นอกจากที่แก้ไข ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ

 

 

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

บริษัท ทนายโซเชียล จำกัด

อาคารศรีประจักษ์ เลขที่ 2 ห้อง 101 ซอยลาดพร้าว 120

ถนนลาดพร้าว แขวงพลับพลา เขตวังทองหลาง

กรุงเทพมหานคร 10310

โทร 02-194-4707 , 095-169-9998 

แพทย์ ศัลยกรรมผิดพลาด ไม่รับผิดชอบ ไม่แก้ไข ดำเนินคดีได้หรือไม่

0 ความเห็น

แสดงความเห็น