วิธีการบังคับคดี และสืบหาทรัพย์สินลูกหนี้
หากมีเรื่องทุกข์ร้อนใจ ทุกปัญหามีทางออก
ปรึกษากฎหมาย
โทร 095-169-9998
“ทนายธีรเมศร์”
หรือสามารถส่งข้อความที่ต้องการสอบถาม มายังไลน์ (Line) เพียงกดเพิ่มเพื่อน ด้านล่างนี้ได้เลย
บริการด้าน “บังคับคดี” “สืบหาทรัพย์สิน”
“เจ้าหนี้” หลายคนกำลังประสบปัญหาใช่มั้ย หลังจากที่ศาลมีคำพิพากษาให้จำเลย หรือลูกหนี้ตามคำพิพากษา ชำระเงินให้กับเรา แต่ลูกหนี้เงียบ นิ่งเฉย ไม่ให้ความสำคัญในการชำระหนี้ ใช้ชีวิต ฟุ่มเฟือย หรูหรา หมาเห่า กินอาหารราคาแหง ไม่เจียมเนื้อ เจียมตัว ไม่รู้หน้าที่ของตัวเอง ว่าต้องนำเงินมาชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้กับเรา
วันนี้ผู้เขียน จะมาบอกวิธีการสืบหาทรัพย์สินของลูกหนี้ เพื่อรวบรวมหลักฐานไปตั้งเรื่องยึด หรืออายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ ออกขายทอดตลาด เพื่อนำเงินมาชำระหนี้ตามคำพิพากษา โดยผู้อ่านก็สามารถนำไปปรับใช้ได้
ขั้นตอนแรกในการบังคับคดี
- ต้อง#สืบทรัพย์สินของลูกหนี้ เพื่อใช้ในการตั้งเรื่องบังคับคดี เช่น #บ้าน #ที่ดิน #คอนโดมิเนียม #ตึกแถว #รถยนต์ #รถจักรยานยนต์ #เงินเดือน #บัญชีธนาคาร #บริษัทนายจ้าง และทรัพย์สินอื่น ๆ
- เมื่อพบทรัพย์สินของลูกหนี้ เจ้าหนี้ตั้งเรื่องยึด หรืออายัดทรัพย์สิน เพื่อนำออกขายทอดตลาด
- “ขับไล่” ดำเนินการรื้อถอน
ขั้นตอนที่ 1. การสืบค้นที่ดินของลูกหนี้
โจทก์/เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ยื่นคำขอตรวจสอบกรรมสิทธิ์ที่ดินและห้องชุด ณ สำนักงานที่ดินใดก็ได้
ตรวจค้นเจอ : สามารถขอคัดถ่ายสำเนาภาพลักษณ์ ได้
ตรวจค้นไม่เจอ : จะมีบันทึกรายงานรายการผลการสอบถามข้อมูลตรวจสอบหลักทรัพย์ ว่า “ไม่พบรายการหลักทรัพย์”
เอกสารประกอบ
1. คำพิพากษา หรือสัญญาประนีประนอมยอมความ (ถ้ามี)
2. หนังสือรับรองคดีถึงที่สุด
3. หมายบังคับคดี
4. หนังสือมอบอำนาจ
5. บัตรประจำตัวประชาชน
หมายเหตุ : ผู้ขอต้องเซ็นยืนยันว่า คำพิพากษาที่แนบมา คดีถึงที่สุดแล้ว ถ้าคดียังไม่ถึงที่สุด ยังไม่ถือว่าเป็นผู้มีอำนาจ ตาม พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารของราชการ 2540 มาตรา 24(8)
ขั้นตอนที่ 2. ออกให้ศาลออกหมายบังคับคดี และขอตั้งเรื่องขอบังคับคดี ณ “สำนักงานบังคับคดี”
ขั้นตอนการตั้งเรื่องขอบังคับคดี
1. สืบหาทรัพย์สิน
2. เตรียมเอกสารส่งประกอบการยึด อายัดทรัพย์สิน
3. ยื่นคำขอยึด - อายัด โดยแสดงรายละเอียดทรัพย์สิน
4. วางเงินประกันค่าใช้จ่าย
5. เตรียมพาหนะ นำเจ้าพนักงานไปดำเนินการ
เตรียมเอกสารประกอบ การยึดอสังหาริมทรัพย์ ณ ที่ทำการ
ยึดที่ดิน พร้อมสิ่งปลูกสร้าง ดังนี้
1. ต้นฉบับโฉนดที่ดิน ถ้าเป็นสำเนาต้องให้เจ้าพนักงานที่ดินรับรองไม่เกิน 1 เดือน นับถึงวันยึด
2. หนังสือรับรองราคาประเมิน
3. สัญญาจำนอง (ถ้ามี)
3.1. กรณียึดจาก Developer ต้องขอคัดหนังสือเฉลี่ยหนี้ พร้อมโฉนดที่ดินหลักด้วย
4. สำเนาทะเบียนบ้านของจำเลย ผู้ถือกรรมสิทธิ์ คู่สมรสของจำเลย ทายาทของจำเลยผู้ตาย ซึ่งนายทะเบียนรับรองไม่เกิน 1 เดือน นับถึงวันยึด
5. หลักฐานการเปลี่ยนชื่อ - สกุล ของโจทก์และจำเลย (ถ้ามี)
6. หนังสือรับรองบริษัท / ห้องหุ้นส่วน / บริษัทจำกัด(มหาชน) กรณีเป็นนิติบุคคล
7. แผนที่การเดินทางไปที่ตั้งทรัพย์ที่ยึด พร้อมสำเนา 1 ชุด
8. ภาพถ่ายปัจจุบัน ของทรัพย์ที่จะยึด และแผนผังของทรัพย์ที่จะยึด โดยระบุขนาดกว้าง - ยาว
9. หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)
10. เขียนคำขอยึดทรัพย์ ณ ที่ทำการ(แบบ 3ก)
11. วางเงินค่าใช้จ่าย สำนวนละ 2,500 บาท
12. ค่าธรรมเนียมถอนการยึด 2%ของราคาประเมินหรือยอดหนี้ จำนวนใดจำนวนหนึ่งที่น้อยกว่า
ยึดห้องชุด หรือคอนโดมิเนียม ดังนี้
1. ต้นฉบับหนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุด ถ้าเป็นสำเนาต้องให้เจ้าพนักงานที่ดินรับรองไม่เกิน 1 เดือน นับถึงวันยึด
2. หนังสือรับรองราคาประเมิน
3. สัญญาจำนอง (ถ้ามี)
3.1. กรณียึดจาก developer ต้องขอคัดหนังสือเฉลี่ยหนี้ พร้อมโฉนดที่ดินหลักด้วย
4. สำเนาทะเบียนบ้านของจำเลย ผู้ถือกรรมสิทธิ์ คู่สมรสของจำเลย ทายาทของจำเลยผู้ตาย ซึ่งนายทะเบียนรับรองไม่เกิน 1 เดือน นับถึงวันยึด
5. หลักฐานการเปลี่ยนชื่อ - สกุล ของโจทก์และจำเลย (ถ้ามี)
6. หนังสือรับรองบริษัท / ห้างหุ้นส่วน / บริษัทจำกัด (มหาชน) กรณีเป็นนิติบุคคล
7. แผนที่การเดินทางไปที่ตั้งทรัพย์ที่ยึด พร้อมสำเนา 1 ชุด
8. ภาพถ่ายปัจจุบัน ของทรัพย์ที่จะยึด และแผนผังของทรัพย์ที่จะยึด โดยระบุขนาดกว้าง - ยาว
9. หนังสือรับรองนิติบุคคลอาคารชุดที่เป็นปัจจุบัน ซึ่งเจ้าพนักงานที่ดินรับรองไม่เกิน 1 เดือน นับถึงวันยึด
10. หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)
11. เขียนคำขอยึดทรัพย์ ณ ที่ทำการ(แบบ 3ก)
12. วางเงินค่าใช้จ่าย สำนวนละ 2,500 บาท
ยึดทรัพย์สิน ประเภทสังหาริมทรัพย์
1. สำเนาทะเบียนบ้านของจำเลย หรือคู่สมรส (กรณีสินสมรส) ซึ่งนายทะเบียนรับรองไม่เกิน 1 เดือน นับถึงวันยึด
2. หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)
3. เขียนคำขอยึดทรัพย์ตาม แบบ 7 แจ้งสถานที่ที่จะไปยึดทรัพย์สิน
4. วางค่าใช้จ่าย สำนวนละ 1,500 บาท
5. เตรียมยานพาหนะ สำหรับรับ ส่ง เจ้่าพนักงานบังคับคดี
6. เตรียมยานพาหนะและคนเพื่อนขนย้ายทรัพย์สินที่ยึดไปเก็บรักษา ณ สำนักงานบังคับคดี
ขับไล่และรื้อถอน
1. เขียนคำร้อง แบบ 7 ขอให้ขับไล่ รื้อถอน
2. หนังสือมอบอำนาจ(หากมี)
3. เตรียมยานพาหนะ สำหรับรับ ส่ง เจ้าพนักงานบังคับคดี
4. เตรียมคนงานในการรื้อถอนและยานพาหนะ สำหรับขนย้าย
5. วางค่าใช้จ่าย สำนวนละ 1,500 บาท
ธรรมเนียมบังคับคดีแทน : 1,000 บาท
ระยะเวลาในการบังคับคดี : ภายใน 10 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง(ม.274)
ขั้นตอนที่ 3. “การประกาศขายทอดตลาด”
เมื่อแจ้งการยึดไปยังลูกหนี้และผู้มีส่วนได้เสียแล้ว เจ้าพนักงานจะดำเนินการ รายงานศาลขอนำทรัพย์สินออกขายทอดตลาด
1. จัดทำประกาศขาย ระบุ รายละเอียดทรัพย์ ราคาประเมิน วัน เวลา สถานที่ขาย พร้อมข้อสังเกต คำเตือน เงื่อนไข
2. ส่งประกาศขายให้ผู้มีส่วนได้เสีย
3. ปิดประกาศขายไว้โดยเปิดเผย
วันขายทอดตลาด
1. ไม่มีผู้เสนอราคา ให้งดขาย
2. มีผู้เสนอราคาสูงสุดและเป็นราคาที่สมควรขาย ไม่มีผู้คัดค้านราคา ให้เคาะไม้ขาย
3. มีผู้คัดค้านราคา เลื่อนการขายไปนัดหน้า ผู้เสนอราคาสูงสุดผูกพันกับการเสนอราคา 30 วัน
4. กำหนดขายนัดต่อไป เคาะไม้ขายให้แก่ผู้เสนอราคาสูงสุด
การชำระราคาค่าซื้อทรัพย์
กรณีเป็น #สังหาริมทรัพย์ ชำระเงินสดทันที
กรณีเป็น #อสังหาริมทรัพย์ เช่น ที่ดิน คอนโด เงินที่วางเป็นหลักประกันเป็นเงินมัดจำเงินที่เหลือชำระภายใน 15 วัน มีเหตุจำเป็นขอขยายเวลาวางเงินได้ 3 เดือน
ขั้นตอนที่ 4. “การอายัดทรัพย์สิน”
สิทธิเรียกร้องที่อายัดได้
1. เงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยขยัน ค่าล่วงเวลา
2. โบนัส
3. เงินตอบแทน กรณีออกจากงาน
4. เงินฝากในบัญชีธนาคาร สถาบันการเงิน
5. เงินปันผลหุ้น
6. ค่าเช่าบ้าน ค่าเช่าทรัพย์สิน ค่างวดงานตามสัญญาจ้างงาน
7.สิทธิที่จำเลย หรือลูกหนี้ตามคำพิพากษา มีสิทธิเรียกร้องจากบุคคลภายนอก
การอายัดเงินลูกหนี้ รายละเอียดดังนี้
1. เงินเดือน ค่าจ้าง ของส่วนที่เกิน 20,000 บาททั้งหมด
2. โบนัสประจำปี อายัดได้จำนวน 50%
3. เบี้ยขยัน ค่าล่วงเวลา อายัดได้จำนวน 30%
4. เงินตอบแทนกรณีออกจากงาน ได้ในส่วนที่เกินกว่า 300,000 บาท
เตรียมเอกสารประกอบการอายัด ดังนี้
1. สำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของโจทก์ สำเนาหนังสือรับรองนิติบุคคลของ รับรองไม่เกิน 1 เดือน
2. หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)
3. หลักฐานแห่งสิทธิเรียกร้องหรือสำเนาเอกสารที่มีข้อความระบุถึงความมีอยู่ของเงิน
4. สำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือหนังสือรับรองนิติบุคคลของบุคคลภายนอกผู้รับคำสั่งอายัด นายทะเบียนรับรองไม่เกิน 1 เดือน
5. สำเนาคำฟ้องและสำเนาทะเบียนบ้านของจำเลยในชั้นฟ้อง
6. เอกสารอื่นๆ ตามที่เจ้าพนักงานบังคับคดีกำหนด
การพิจารณาลดอายัดเงินเดือน
1. ลูกหนี้ขอลดการอายัด ส่งหนังสือรับรองเงินเดือน หลักฐานความจำเป็น
2. เจ้าพนักงานพิจารณาลดอายัดเงินได้ ไม่เกินกึ่งหนึ่ง
3. เจ้าหนี้ ลูกหนี้ ไม่เห็นชอบ ให้ร้องต่อศาลเพื่อกำหนดจำนวนเงินที่อายัดใหม่
รวบรวม คำถามยอดนิยม
ข้อ 1. ยึดที่ดินของลูกหนี้ซึ่งติดจำนองธนาคาร ได้ไหม
ตอบ ได้ แต่เงินที่ขายทอดตลาดได้ เจ้าหนี้จำนองจะมีสิทธิได้รับเป็นอันดับแรก ถ้ามีเงินเหลือ เราถึงมีสิทธิได้รับ
ข้อ 2. ยึดทรัพย์นำอออกขายตลาดแล้วได้รับเงินไม่พอชำระหนี้ จะยึดทรัพย์ลูกหนี้ได้อีกไหม
ตอบ สามารถยึดทรัพย์สินได้อีก ภายใน 10 ปีนับแต่ศาลมีคำพิพากษา
ข้อ 3. อายัดเงินเดือนข้าราชการได้ไหม
ตอบ ไม่ได้ เว้นแต่อายัดค่าอุปการะเลี้ยงดู ตามพรบ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.พ.2553
ข้อ 4. ลูกหนี้ทำงานอยู่ในหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ขออายัดเงินเดือนได้ไหม
ตอบ อายัดได้ เช่น การรถไฟ ขสมก. การประปา การไฟฟ้า การท่าเรือ การบินไทย ไปรษณีย์ไทย เป็นต้น
ข้อ 5. เจ้าหนี้ขอตรวจสอบว่าลูกหนี้ถูกอายัดเงินเดือนได้ไหม
ตอบ ได้ โดยขอตรวจสอบ ณ สำนักงานบังคับคดี
ข้อ 6. ครบ 10 ปีแล้ว แต่ยังไม่ได้รับชำระหนี้ครบถ้วน จะขออายัดเงินเดือนต่อไปได้ไหม
ตอบ ได้จนกว่าจะครบถ้วน แม้ระยะเวลาจะเกิน 10 ปี ไม่ขาดดอายุความ อ้างอิงตามคำพิพากษาศาลฏีกาที่ 1216/2556
ข้อ 7. ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดได้แล้ว เจ้าของเดิมไม่ยอมออกไป ต้องดำเนินการอย่างไร
ตอบ ยื่นคำร้องขอศาลออกคำบังคับให้เจ้าของเดิมพร้อมบริวารออกไปจากทรัพย์ที่ซื้อภายในเวลาที่ศาลกำหนด ไม่น้อยกว่า 30 วัน
ข้อ 8. การดำเนินการขายทอดตลาด จะขาย ณ ที่ใด
ตอบ ขาย ณ ที่ทำการของสำนักงานบังคับคดีท้องที่ที่ทรัพย์ตั้งอยู่ เช่น คดีอยู่ที่ศาลแพ่ง แต่ที่ดินอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่ จะมีการประกาศขายที่ดิน ที่กรมบังคับคดีจังหวัดเชียงใหม่
ข้อ 9. กรณีบังคับคดีนอกเขตศาลที่มีคำพิพากษาตั้งทำอย่างไร
ตอบ นำคำบังคับไปขอ #ศาลที่มีเขตอำนาจในที่ตั้งทรัพย์ ออกหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดี หากมีการแก้ไข ก็สามารถยื่นต่อศาลนั้นได้เช่นกัน
ข้อ 10. นายจ้างไม่ยอมนำส่งเงินเดือนที่เจ้าหนี้ขออายัด เจ้าหนี้จะต้องทำอย่างไร
ตอบ ยื่นคำร้องต่อศาล เพื่อขอให้ศาลออกหมายเรียกกรรมการบริษัทมาไต่สวนที่ศาล
ถ้าหากผู้อ่านได้นำวิธีการดังกล่าวไปใช้ และยังไม่ได้ผล หรือต้องการเราดำเนินการ เรายินดีให้บริการ ส่วนค่าใช้จ่าย มาคุยกันหลังไมค์
เราให้บริการ เร่งรัดหนี้สินจากลูกหนี้ ติดต่อทวงหนี้ ติดตามหนี้สินค้างชำระ รับเจรจาประนอมหนี้กับสถาบันการเงิน ธนาคาร ไฟแนนซ์ และเจ้าหนี้ทั่วไป เจรจาข้อตกลงหรือข้อสัญญาต่างๆเกี่ยวกับธุรกิจ สืบหาทรัพย์สิน ตั้งเรื่องยึด หรือ #อายัดทรัพย์สิน ดูแลการขายทอดตลาด

0 ความเห็น
แสดงความเห็น