20
พฤษภาคม
โดย: Tanaysocial 0 ความเห็น

"การรับรองบุตร" ต้องทำอย่างไร ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง ต้องยื่นที่ศาลไหน

 

หากมีเรื่องทุกข์ร้อนใจ ทุกปัญหามีทางออก

ปรึกษากฎหมาย

โทร 095-169-9998

หรือสามารถส่งข้อความที่ต้องการสอบถาม มายังไลน์ (Line) เพียงกดเพิ่มเพื่อน ด้านล่างนี้ได้เลย

เพิ่มเพื่อน

 

 

 

 

“ขั้นตอนการขอรับรองบุตร”  กรณีมารดาให้ความยินยอม หรือมารดาเสียชีวิต

 

หากบิดา มารดา ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน แต่อยู่กินกันฉันสามีภริยา  และมีบุตรด้วยกัน ตามกฎหมายแล้วบุตรที่เกิดมา จะเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของมารดาเท่านั้น    ถึงแม้ บิดา จะเป็นผู้แจ้งเกิด หรือให้ใช้นามสกุล หรือส่งเสียเลี้ยงดู ก็ ยังไม่ถือว่าเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของบิดา  เพราะการจะเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายจะต้องเป็นกรณีใดกรณีหนึ่ง ดังนี้

  1. บิดามารดาที่ได้จดทะเบียนสมรสกัน
  2. บิดามารดาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน แต่ได้มีการจดทะเบียนสมรสกันในภายหลังมีบุตร  
  3. บุตรที่บิดาจดทะเบียนรับรองบุตร
  4. ศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร

ในการที่บิดา มารดา ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน  อาจทำให้บุตร  และบิดา เสียสิทธิ ต่างๆ ได้ ดังนั้น บิดาควรต้องทำเรื่องขอรับรองบุตร โดยการขอรับรองบุตรทำได้ ที่หน่วยงานราชการ หรือ ยื่นคำร้องต่อศาลขอให้บิดาเป็นบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายของบุตร ดังนี้

 

1.การขอ "รับรองบุตร" ที่หน่วยงานราชการ  ขั้นตอนในการจดทะเบียน คือ บิดาต้องยื่นคำร้องขอจดทะเบียนรับรองบุตรต่อนายทะเบียน ณ สำนักทะเบียนอำเภอ กิ่งอำเภอ หรือสำนักทะเบียนเขต พร้อมทั้งแนบเอกสารที่ต้องใช้ในการจดทะเบียน เช่น

 

1.1 บัตรประจำตัวประชาชน บิดา มารดา บุตร

1.2 สำเนาทะเบียนบ้าน บิดา มารดา บุตร

1.3 หนังสือแสดงความยินยอมของ บุตร

1.4 หนังสือแสดงความยินยอมของมารดาของบุตรก่อนรับจดทะเบียน

 

  • นายทะเบียนจะทำการตรวจสอบหาข้อเท็จจริงจากพยานบุคคล เช่น บิดามารดา กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เพื่อนบ้าน เพื่อให้ได้ความจริงเสียก่อน โดยบิดาจะจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายได้ต่อเมื่อ ได้รับความยินยอมของเด็กและมารดาเด็ก ดังนั้น เด็กและมารดาเด็กต้องให้ความยินยอมในการจดทะเบียนทั้งสองคน ซึ่งอาจมาให้ความยินยอมต่อหน้านายทะเบียนก็ได้ ในกรณีที่เด็กและมารดาไม่ได้มาให้ความยินยอมต่อหน้านายทะเบียน ให้นายทะเบียนแจ้งการขอจดทะเบียนไปยังเด็กและมารดา ถ้าทั้งสองคนไม่คัดค้านหรือไม่ให้ความยินยอมภายใน 60 วันนับแต่ได้รับแจ้ง (ถ้าเด็กและมารดาอยู่ต่างประเทศให้ขยายเวลาเป็น 180 วัน) ให้สันนิษฐานว่าเด็กหรือมารดาเด็กไม่ให้ความยินยอม

แต่หากเด็ก มีอายุ ไม่ถึง 7 ปี ยังถือว่าเด็กยังไม่อาจให้ความยินยอมได้ หรือมารดาไม่ให้ความยินยอม หรือมารดาเด็กเสียชีวิต  ต้องไปยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้เป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย เท่านั้น

 

2. การยื่น คำร้องขอ "รับรองบุตร" ที่ศาล  มีเอกสารที่ต้องใช้คือ

2.1 บัตรประจำตัวประชาชน บิดา มารดา บุตร

2.2 สำเนาทะเบียนบ้าน  บิดา มารดา บุตร

2.3 หนังสือแสดงความยินยอมของบุตร

2.4 หนังสือแสดงความยินยอมของมารดาของบุตรก่อนรับจดทะเบียน

2.5 ใบสูติบุตร

2.6 หลักฐานการส่งเสียเลี้ยงดูบุตร ช่น สลิปการโอนเงินค่าเทอม ค่าน้ำ ค่าเสื้อผ้า ค่าอาหาร รูปถ่าย

2.7 ใบมรณะบัตร มารดา (กรณีมารดาเสียชีวิต)

2.8 สำเนาใบเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล ของบิดา มารดา และบุตร (ถ้ามี)

หลังจากที่รวบรวมหลักฐานครบถ้วนให้ยื่นคำร้องและแนบเอกสารทั้งหมดไปยังศาล เพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งให้เป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย

 

3. เขตอำนาจศาล

ต้องขึ้นศาลชํานัญพิเศษคือ ศาลเยาวชนและครอบครัว #ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2550    

 

 

4. ระยะเวลาในการทำเรื่อง

ระยะเวลาดำเนินการ ใช้เวลาประมาณ 2-4 เดือน นับแต่วันที่ยื่นคำร้องขอจดทะเบียนรับรองบุตร (กรณีที่ไม่มีผู้คัดค้าน) โดยบิดา ต้องนำบุตร และมารดา ไปให้ถ้อยคำต่อผู้อำนวยการสถานพินิจ เพื่อรายงานข้อเท็จจริงต่อศาลภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งรับคำร้องเรา   

เมื่อถึงวันนัดไต่สวนคำร้อง และศาลมีคำสั่งอนุญาตให้รับรองบุตร ต้องรอออกหนังสือรับรองคดีถึงที่สุด 1 เดือน เมื่อได้คำสั่ง และหนังสือรับรองคดีถึงที่สุด ให้นำคำสั่งไปติดต่อหน่วยงานราชการ เพื่อจดทะเบียนรับรองบุตร

 

 

 

 

 ข้อเสียหากไม่ได้เป็นบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย

การที่ไม่ได้เป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของบิดา ทำให้ทั้งตัวบิดาและผู้เยาว์ เสียสิทธิตามกฎหมายหลายประการ เช่น 

 

1.บิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่มีสิทธิฟ้องคดีแทนผู้เยาว์ กรณีผู้เยาว์เป็นผู้เสียหายในคดีอาญา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา  5 (1)  เพราะถือว่าไม่ใช่ผู้แทนโดยชอบธรรม ( ฎ.1988/2514 )

 

2.บิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่มีสิทธิฟ้องคดีแพ่งแทนผู้เยาว์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 56 

 

3.บิดาเสียสิทธิเรื่องอำนาจปกครองบุตร อำนาจในกำหนดที่อยู่อาศัย กำหนดสถานที่ศึกษา การทำโทษ การให้ทำงานตามฐานานุรูป การเรียกคืนบุตรจากบุคคลที่กักไว้โดยไม่ชอบ เพราะถือว่าไม่ใช่บิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ใช่เป็นผู้ปกครอง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1567

 

4.บุตรเสียสิทธิในการเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร เพราะไม่ถือว่าเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของบิดา(ฎ.1601/2492 )

 

5.บุตรและบิดา เสียสิทธิในการรับเงินต่างๆ เช่น เงินบำนาญตกทอด หรือเงินช่วยเหลือๆของราชการ ตามที่กฎหมายกำหนดให้บิดาหรือบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายเท่านั้นมีสิทธิได้รับ 

 

6.กรณีบุตรถูกทำร้ายหรือทำละเมิดเสียชีวิต บิดาไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าขาดไร้อุปการะต่างๆ เพราะถือว่าบุตรไม่มีหน้าที่ในการอุปการะเลี้ยงดูบิดา  ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1563 เนื่องจากไม่ใช่บิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย 

 

7.กรณีบิดาถูกทำร้ายหรือทำละเมิดเสียชีวิต บุตรก็ไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าขาดไร้อุปการะต่างๆ เพราะถือเป็นบิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่มีหน้าที่ในการให้การอุปการะเลี้ยงดู ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิช์ มาตรา 1564 ทั้งนี้ตามนัย คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1409/2548

 

8.บิดาและบุตร เสียสิทธิในการหักลดหย่อนภาษีตามกฎหมาย ทั้งนี้เพราะ คำว่าบุตรชอบด้วยกฎหมาย ตามมาตรา 47(1)(ค) แห่งประมวลรัษฎากร หมายถึง บุตรชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ว่าด้วยครอบครัว ทั้งนี้ตามนัย คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1437/2526  

 

9.บิดาไม่ได้รับการคุ้มครองจากกฎหมายอุทลุม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1564 บุตรสามารถฟ้องบิดาเป็นคดีแพ่งอละอาญาได้ เนื่องจากไม่ใช่บิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย 

 

10.บุตรเสียสิทธิในการใช้นามสกุลของบิดา เพราะบุตรที่มีสิทธิจะใช้นามสกุลของบิดาได้นั้น จะต้องเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1561

 

11.บิดาไม่มีสิทธิยุ่งเกี่ยวหรือดำเนินการใดๆเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์ รวมทั้งไม่มีอำนาจขออนุญาตต่อศาล เพื่อทำนิติกรรมแทนผู้เยาว์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1574

 

           

 

0 ความเห็น

แสดงความเห็น